ลอยกระทงปี 2567 ตรงกับวันศุกร์ที่ 15 พ.ย. วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ตามปฏิทินจันทรคติไทย และเป็นวันสำคัญที่ชาวไทยร่วมกันบูชาพระแม่คงคา เพื่อขอขมาจากการใช้น้ำในแม่น้ำลำคลองทั้งหลาย รวมถึงการลอยเคราะห์และความทุกข์โศกทิ้งไป โดยมีการจัดงานใหญ่ตามจังหวัดสำคัญต่าง ๆ เช่น สุโขทัย เชียงใหม่ อยุธยา และกรุงเทพมหานคร มีทั้งกิจกรรมลอยกระทง การแสดงศิลปวัฒนธรรม และการจัดประกวดกระทงสวยงาม
ลอยกระทงเป็นประเพณีที่มีต้นกำเนิดมาจากความเชื่อของชาวไทยและในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ถือปฏิบัติมานาน เชื่อว่าการลอยกระทงเป็นการขอขมาต่อพระแม่คงคา เทพเจ้าแห่งสายน้ำ ตามความเชื่อโบราณของพราหมณ์ที่นำมาผสมกับพุทธศาสนา โดยมีการลอยโคมหรือโคมลอย ก่อนเปลี่ยนมาเป็นกระทงที่ตกแต่งด้วยดอกไม้และวัสดุจากธรรมชาติ ประเพณีนี้ได้รับการส่งเสริมในสมัยกรุงสุโขทัย และพัฒนามาถึงปัจจุบัน ด้วยรูปแบบหลากหลายของแต่ละภูมิภาค
ฤกษ์ดีลอยกระทง อธิษฐานขอพรให้สมหวัง–ปล่อยพลังลบ
เทศกาลลอยกระทงนอกจากจะเป็นการขอขมาพระแม่คงคา ยังเป็นการลอยเคราะห์ทุกข์โศกและเสริมสิริมงคลให้ชีวิต ซึ่งมีช่วงเวลาฤกษ์ดีในการขอขมาพระแม่คงคา และอธิษฐานเพื่อเริ่มต้นสิ่งใหม่ตามความเชื่อโบราณ
- ช่วงเวลา 18.19 – 20.19 น. เชื่อว่าเหมาะสำหรับการอธิษฐานขอพร เพื่อความสมหวังและความเจริญรุ่งเรือง
- เวลา 22.10 น. เป็นต้นไป เหมาะสำหรับการปล่อยของไม่ดี พลังลบ และสิ่งที่ต้องการปล่อยไป เพื่อเริ่มต้นใหม่อย่างบริสุทธิ์ใจ
เคล็ดลับเสริมดวงการงาน–ความรัก วันลอยกระทง
- การขอพรความรัก ควรลอยกระทงคู่กับคนที่เรารัก หรือใช้ดอกบัว เพื่อเสริมเสน่ห์
- การขอพรด้านการงานและความมั่นคง ใช้อุปกรณ์ที่ทำจากธรรมชาติ เช่น ใบตอง หรือวัสดุที่ย่อยสลายได้ เพื่อแสดงความเคารพต่อธรรมชาติ และเป็นการส่งเสริมพลังบวกให้ชีวิต
ควรแต่งกายด้วยโทนสีขาว สีเขียว หรือสีฟ้า เพื่อเสริมความเป็นสิริมงคล เพิ่มพลังแห่งความสงบและความเจริญรุ่งเรือง
ลอยกระทง ลอยเคราะห์หมดโศก เสริมสิริมงคล
การตัดเล็บและเส้นผมใส่ลงในกระทง เป็นอีกหนึ่งเคล็ดลับที่นิยมกันมาก เชื่อกันว่าเล็บและเส้นผม แทนตัวตนและพลังชีวิตของเรา การใส่ลงไปในกระทงแล้วลอยไปกับแม่น้ำ จะช่วยล้างพลังลบ กำจัดเคราะห์ร้าย และส่งเสริมให้ชีวิตมีความสุขมากขึ้น เหมือนกับการปล่อยสิ่งที่ไม่ดีไปกับสายน้ำ นอกจากนี้หลายคนยังใส่เงินที่เป็นเหรียญลงในกระทง รวมถึงใส่ข้าวสาร ข้าวตอก ดอกบัวลงในกระทงอีกด้วย แล้วแต่ความเชื่อของแต่ละบุคคล
คาถาบูชา ขอขมา ขอพร พระแม่คงคา
ท่อง “นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ” (3จบ)
จากนั้นกล่าวคำขอขมา “สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต อุกาสะ ขะมามิ ภันเต”
หรือ คาถาบูชาพระแม่คงคา
“โอม อัคคีคงคานัง วาโยอาโปธรณี นะ มะ พะ ทะ
ทุติยัมปิ อัคคีคงคานัง วาโยอาโปธรณี นะ มะ พะ ทะ
ตะติยัมปิ อัคคีคงคานัง วาโยอาโปธรณี นะ มะ พะ ทะ”
คำอธิษฐานขอพรพระแม่คงคา
“มะยัง อิมินา ปะทีเปนะ อะสุกายะ นัมมะทายะ นะทิยา ปุลิเน ฐิตัง
มุนิโน ปาทะวะลัญชัง อะภิปูเชมะ อะยัง ปะทีเปนะ
มุนิโน ปาทะวะลัญชัสสะ ปูชา อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ สังวัตตะตุ”
เคล็ดลับเหล่านี้นอกจากจะช่วยให้คุณขอขมาพระแม่คงคาอย่างถูกต้องแล้ว ยังเสริมสิริมงคลให้ชีวิตก้าวไปอย่างราบรื่นกว่าเดิมตามความเชื่อของแต่